ประวัติความเป็นมา และการก่อตั้งสน.คันนายาว ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2480 (ค.ศ.1937) เดิมชื่อ สน.กูบแดง ตั้งอยู่เชิงสะพานบางบัว ถนนพหลโยธิน ตำบลกูบแดง (ปัจจุบันคือแขวงอนุสาวรีย์) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร มี ร.ต.อ.ไมตรี บัณเย็น (ยศขณะนั้น) เป็นสารวัตรหัวหน้าสถานีท่านแรก สน.กูบแดง มี กิ่ง สน.โคกคราม เป็นสถานีย่อย ตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุ ที่บ้านโคกคราม ใกล้วัดบางขวด(วัดนวลจันทร์) อำเภอบางกะปิ(ปัจจุบันคือเขตบึงกุ่ม) กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ทางราชการได้สร้างสถานีตำรวจแห่งใหม่ขึ้น ที่บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญบางเขน (ปัจจุบันคือ สน.บางเขน) และให้ข้าราชการตำรวจของ สน.สี่แยกบางเขน ชื่อในขณะนั้น ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายเหนือ ใกล้สี่แยกหลักสี่ ย้ายเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ยังสถานีใหม่แห่งนี้
          ปี พ.ศ.2485 พล.ต.อ.อดุลย์ อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่รอยต่อของอำเภอบางเขน อำเภอบางกะปิ และอำเภอมีนบุรี ในขณะนั้น เป็นพื้นที่รอยต่อซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 3 อำเภอ และมีระยะทางจากทั้ง 3 อำเภอเท่าๆ กัน กลุ่มคนร้ายจึงอาศัยใช้เป็นแหล่งกบดานเพื่อหลบซ่อนตัว และข้ามไปมาเพื่อก่ออาชญากรรมทำให้ยากแก่การติดตามจับกุมตัววันที่ 18 ม.ค.2486 นางสน สุขสวัสดิ์ ได้มอบที่ดินบริเวณริมคลองบางชัน เนื้อที่ 6 ไร่ 1 ตารางวา ให้แก่กรมตำรวจเพื่อใช้สร้างเป็นสถานีตำรวจ กรมตำรวจจึงได้ดำเนินการก่อสร้างที่ทำการสถานีตำรวจขึ้นใหม่ และให้ชื่อว่า ”สถานีตำรวจนครบาลคันนายาว” มีเขตพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 94 ตารางกิโลเมตร ครั้งนั้น สน.คันนายาว มีที่ทำการเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว 1 หลัง เรือนไม้บ้านพักข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร 2 หลัง และเรือนไม้ห้องแถวบ้านพักของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 2 หลัง (35 ห้อง) เมื่อสร้างเสร็จพร้อมเปิดดำเนินงานจึงให้ยกเลิก สน.กูบแดง และ กิ่ง สน.โคกคราม แล้วให้โอนข้าราชการตำรวจของทั้ง 2 สถานี ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ราชการรวมกันที่ สน.คันนายาวโดยมี ร.ต.ท.จิตร อจลบุญ เป็นสารวัตรท่านแรก
          ปี พ.ศ.2536 กรมตำรวจพิจารณาเห็นว่าอาคารที่ทำการของ สน.คันนายาว มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากได้ก่อสร้างมาเป็นเวลากว่า 50 ปี ประกอบกับอาคารที่ทำการเดิมมีห้องทำงานไม่เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่ และปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้อนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้นจำนวน 1 หลัง ก่อสร้างแล้วเสร็จและใช้เป็นที่ทำการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2538 จนถึงปัจจุบัน ต่อมา กระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ.2539 แบ่งพื้นที่รับผิดชอบของ สน.คันนายาว ออกเป็น 2 สถานี คือ สน.คันนายาว และ สน.โคกคราม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2539 ทำให้ สน.คันนายาว เหลือพื้นที่รับผิดชอบ 77.540 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ฝั่งเหนือของสน.คันนายาว เดิม
          เมื่อปี พ.ศ.2522 ได้รับการยกฐานะให้เป็น สถานีตำรวจที่มีสารวัตรใหญ่เป็นหัวหน้าสถานี โดยมี พ.ต.ท.ไพรัตน์ อัตนโถ ดำรงตำแหน่งสารวัตรใหญ่ เป็นท่านแรก วันที่ 23 ม.ค.2537 ได้รับการยกฐานะให้เป็น กองกำกับการสถานีตำรวจนครบาลคันนายาว ตามคำสั่งกรมตำรวจ ที่ 59/2537 ลง 19 ม.ค.2537 โดยมี พ.ต.อ.เมธี เหลืองรัตนะแสง ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลคันนายาว เป็นท่านแรก ปัจจุบัน สน.คันนายาว มีพื้นที่รับผิดชอบ 54 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีเขตพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
          ทิศเหนือ เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้านนอกของถนนรัตนโกสินทร์สมโภช ฟากตะวันตก บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนสุขาภิบาล ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนรัตนโกสินทร์สมโภชฟากตะวันตกฟากตะวันออกบรรจบกับริมฝั่งคลองพระยาสุเรนทร์(คลองหนองใหญ่)ฟากตะวันตกบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนหทัยราษฎร์ ฟากใต้ ไปทางทิศใต้ เลียบไปตามริมฝั่งคลองพระยาสุเรนทร์ (คลองหนองใหญ่) ฝั่งตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานี จนบรรจบกับริมฝั่งคลองลำตาปานฝั่งตะวันตก
          ทิศตะวันออก เริ่มจากบริเวณที่ริมฝั่งคลองลำตาปานฝั่งตะวันตกบรรจบกับเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานี ไปทางทิศใต้ เลียบไปตามริมฝั่งคลองลำตาปาน ริมฝั่งคลองลำกลีบหมู และริมฝั่งคลองลำควายตายฝั่งตะวันตก จนบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของซอยแสงสี ฟากใต้ทิศใต้ เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้นนอกของซอยแสงสี ฟากให้บรรจบกับริมฝั่งคลองลำควายตาย ฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยแสงสีฟากใต้ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระยาสุเรนทร์ฟากตะวันออก ไปทางทิศได้ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระยาสุเรนทร์ฟากตะวันออกบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของซอยบำรุงสุข ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยบำรุงสุข ฟากใต้บรรจบริมฝั่งคลองบางชันฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเลียบไปตามริมฝั่งคลองบางชันฝั่งตะวันตกบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนปัญญาอินทรา ฟากใต้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนปัญญาอินทราฟากใต้บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงเผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา)ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบ
          ทิศใต้ เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้นนอกของซอยแสงสี ฟากให้บรรจบกับริมฝั่งคลองลำควายตาย ฝั่งตะวันตก ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยแสงสี ฟากใต้ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระยาสุเรนทร์ ฟากตะวันออก ไปทางทิศได้ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนพระยาสุเรนทร์ฟากตะวันออกบรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของซอยบำรุงสุข ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของซอยบำรุงสุข ฟากใต้บรรจบริมฝั่งคลองบางชันฝั่งตะวันตก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเลียบไปตามริมฝั่งคลองบางชัน ฝั่งตะวันตก บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนปัญญาอินทรา ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนปัญญาอินทราฟากใต้ บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงเผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา)ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา)ฟากใต้ จนบรรจบกับขอบถนนวัชรพลฟากตะวันตก
          ทิศตะวันตก เริ่มจากบริเวณที่ขอบทางเท้าด้านนอกของถนนวัชรพลฟากตะวันตก บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (ถนนรามอินทรา) ฟากใต้ ไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางเท้าด้านนอกของถนนวัชรพล ฟากตะวันตก บรรจบกับขอบทางเท้าด้านนอกของถนนรัตนโกสินทร์สมโภช ฟากตะวันตก

   



เว็บไซต์แนะนำ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานจเรตำรวจ
กองบัญชาการตำรวจนครบาล
กองบังคับการตำรวจนครบาล 2
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานกลางตำรวจ
ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ศาลอาญามีนบุรี

ข้อมูลติดต่อ

เลขที่ 1 ซอยคู้บอน 33 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
เบอร์โทรศัพท์ 02-5109791,081-9304733
เบอร์โทรสาร  02-5104733
E-mail : div2_kanna@hotmail.com